ภาษีบำรุงท้องที่

********************************


ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ตามราคาปานกลางที่ดินและตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่
หลักการสำคัญ
1. ต้องมีที่ดิน
- เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหรือคณะบุคคลหรือ
- ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน แต่อยู่ในความครอบครองของบุคคลหรือคณะบุคคล
2. ไม่เข้าข้อยกเว้น ตามมาตรา 8,23
3. ไม่อยู่ในเกณฑ์ลดหย่อนตามมาตรา 22

 

การชำระภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนี้และชำระได้ไม่เกินวันที่ 31 เมษายน ของทุกปี ถ้าเลยกำหนดระยะเวลาต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี
1. สำเนาบัตรข้าราชการ / บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท
4. หลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส. 3 เป็นต้น
5. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน)
หมายเหตุ กรณีที่เป็นการเสียภาษีในปีที่ไม่ใช้ปีที่ยื่นแบบ ภบท.5 ให้นำ ภบท. 5 ส่วนที่มอบให้เจ้าของที่ดิน หรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้ายมาด้วย

 

การยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 8) เจ้าของที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับที่ดิน
1. ที่ดินเป็นที่ตั้งของพระราชวัง
2. ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่น
4. ที่ดินใช้เฉพาะการพยาบาล การศึกษา กุศลสาธารณะ
5. ที่ดินใช้เฉพาะศาสนกิจ
6. ที่ดินใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ
7. ที่ดินใช้ในการรถไฟ / ประปา / ไฟฟ้า / ท่าเรือของรัฐ หรือสนามบินของรัฐ
8. ที่ดินที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว
9. ที่ดินเอกชนซึ่งราชการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
10. ที่ดินที่ตั้งขององค์การสหประชาชาติ
11. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของสถานทูตฯ
12. ที่ดินที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

การยกเว้น / การลดภาษีบำรุงท้องที่
1. ปีที่ล่วงมา ที่ดินที่ใช้เพาะปลูกเสียหายมากกว่าปกติ หรือ
2. เพาะปลูกไม่ได้ด้วยเหตุพ้นวิสัย
3. ผวจ.มีอำนาจยกเว้นหรือลดภาษีได้ตามระเบียบฯ

 

การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่
1. บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงในจังหวัดเดียวกัน
2. ใช้ที่ดินเพี่อ
2.1 เป็นที่อยู่อาศัยของตน
2.2 เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน
2.3 ประกอบกสิกรรมของตน
3. ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษี ตามเกณฑ์
3.1 เขตองค์การส่วนจังหวัด 3-5 ไร่
3.2 เขตเทศบาลตำบล / สุขาภิบาล 200-400 ตารางวา
3.3 เขตเทศบาลอื่น / เมืองพัทยา 50-100 ตารางวา
3.4 กรุงเทพมหานคร
- ชุมชนหนาแน่นมาก 50-100 ตารางวา
- หนาแน่นปานกลาง 100 ตารางวา - 1 ไร่
- ห้องที่ชนบท 3-5 ไร่
4. บุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันได้รับลดหย่อนรวมกัน
5. ลดหย่อนสำหรับที่ดินในจังหวัดเดียว

 

การชำระและการขอคืนภาษีบำรุงท้องที่
1.ผู้มีหน้าทีเสียภาษี
- เจ้าของที่ดิน
- เจ้าของร่วมหลายคน ต้องร่วมกับภาระ
- หากโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับโอนรับภาระค่าภาษีค้างไม่เกิน 5 ปี ส่วนเกิน 5 ปี เจ้าของเดิมรับภาระ
2. กำหนดเวลาชำระภาษี
- ภายในเดือนเมษายนของทุกปี
- กรณีแจ้งประเมินหลังเดือนมีนาคมชำระภายใน 30 วัน

 

อัตราภาษีบำรุงท้องที่
1. ตามบัญชีอัตราภาษีฯ ท้าย พ.ร.บ. ฯ
2. 30,000 บาท แรก เสียภาษี 70 บาท
3. 30,000 บาท ต่อไปเสียภาษี 25 บาท ต่อ 10,000 บาท
4. ประมาณ 0.25 % ของราคาปานกลาง
5. ประกอบกิสิกรรม ประเภทไม้ล้มลุก
- เสียกึ่งอัตรา
- ด้วยตนเองไม่เกินไร่ละ 5 บาท
6. ที่ดินว่างเปล่า เสียเพิ่ม 1 เท่า

 

วิธีการคำนวณ
1. เนื้อที่ดินเพื่อคำนวณภาษี (ไร่) เท่ากับ เนื้อที่ถือครอง - เนื้อที่เกณฑ์ลดหย่อน
2. ค่าภาษีต่อไร่ เท่ากับ (ราคาปานกลาง X 0.25 %)